28/6/51

จากปรัชญาสู่วิทยาศาสตร์

ผู้รู้นักวิชาการในกรีกโบราณเป็นบุคคลแรกที่เราทราบที่ใช้ความพยายามเพื่อศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับจักรวาล ด้วยระบบการรวมรวมความรู้ผ่านทางกิจกรรมการให้เหตุผลของมนุษย์เพียงลำพัง ใครก็ตามที่พยายามค้นแสวงหาเหตุผลเพื่อความเข้าใจ โดยไม่ต้องอาศัยปัญญาญาณ (intuition) ความบันดาลใจ (inspiration) วิวรณ์ (revelation) หรือการทำสิ่งที่ทำให้รู้กัน หรือแหล่งสารสนเทศที่ไม่มีเหตุผล จะเรียกบุคคลดังกล่าวนี้ว่านักปรัชญา (คำในภาษากรีกหมายถึง ผู้รักในความรู้ (lovers of wisdom))

ปรัชญาสามารถคิดให้เป็นเรื่องภายในของการแสวงหาความเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์ จริยศาสตร์ และศิลธรรม การกระตุ้นชักจูงและการตอบสนอง หรือเป็นเรื่องภายนอกจากการศึกษาค้นคว้าจักรวาลส่วนที่อยู่นอกเหนือเขตแดนของจิตที่ไม่มีตัวตน ได้แก่ศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติ

นักปรัชญาที่ศึกษาในประเภทหลังเรียกว่าเป็นนักปรัชญาธรรมชาติ และเป็นเวลาหลายศตวรรษหลักจากยุคเริ่มต้นของกรีก การศึกษาปรากฏการณ์ธรรมชาติก็เรียกกันว่าปรัชญาธรรมชาติ ส่วนคำสมัยใหม่ที่นำมาใช้แทนได้แก่ วิทยาศาสตร์ (science) เป็นคำในภาษาลาตินแปลว่า to know ซึ่งไม่ได้เป็นที่นิยมใช้กันมากนัก จนกระทั่งศตวรรษที่ 19 แม้แต่ปัจจุบันเป็นที่มาของปริญญาสูงสุดในมหาวิทยาลัยที่ให้แก่ผู้สำเร็จการศึกษาในทางวิทยาศาสตร์โดยทั่วไปว่า Doctor of Philosophy

7 ความคิดเห็น:

James กล่าวว่า...

สรุปง่ายๆ ก็คือว่าวิทยาศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ใช้เหตุผลในการเรียนรู้ศึกษาโดยปราศจาก intuition inspiration และ revelation นันเอง

แม้ในสมัยของนิวตันก็ยังเรียกวิทยาศาสตร์ว่า Philosophy อยู่ เห็นได้จากหนังสือของนิวตันที่ชื่อว่า Philosophiæ Naturalis Principia Mathematica ซึ่งเป็นภาษาลาติน หรือ Mathematical Principles of Natural Philosophy ในภาษาอังกฤษนั่นเอง

สิ่งที่น่าสนใจในยุคของนิวตันคือหนังสือทางวิชาการมักเขียนเป็นภาษาลาติน ซึ่งเป็นภาษาที่มีความเกี่ยวข้องกับศาสนาคริตส์ แม้ว่าบ่อยครั้งที่หนังสือพวกนี้มีความเห็นไม่ตรงกันกับความเชื่อในศาสนาคริตส์ เราจะเรียกสิ่งนี้ว่า Irony ได้รึปล่าว??

เจมส์

uvadee กล่าวว่า...

ปรัชญา เป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับการคิดหาข้อเท็จจริง หรือหาเหตุผลมาอธิบายสิ่งที่กำลังคิด สนใจหรือสิ่งที่ประสบพบเห็น ซึ่งเป็นเรื่องเฉพาะตัวของบุคคลอาจคิดมาจากความอยากรู้อยากเห็น อันเป็นลักษณะพื้นฐานของการสังเกต หรือคิดเพื่อหาเหตุผลมาอธิบายสิ่งที่เห็นด้วย หรือโต้แย้งสิ่งที่ไม่เห็นด้วย อันจะทำให้เกิดความรู้ได้มากมายจากกระบวนการคิดเหล่านี้ การคิดไม่เคยหยุดนิ่ง อาจไม่มีระเบียบ แต่เมื่อจัดระเบียบทางความคิดแล้ว จึงจะเป็นวิทยาศาสตร์ ปรัชญาจึงน่าจะเกิดก่อนวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่เรื่องเดียวกันแต่มีผลต่อกัน

ยุวดี

กุหลาบ กล่าวว่า...

ปรัชญาเป็นต้นกำเนิดของศาสตร์ต่างๆ ครอบคลุมศาสตร์ต่างๆ ในทุกๆ ศาสตร์ รวมทั้งวิทยาศาสตร์ปรัชญาเปรียบเสมือนเป็นองค์รวมของศาสตร์ต่างๆวิธีการแสวงหาความรู้ของปรัชญาเป็นการคิดไตร่ตรองโดยใช้เหตุผล มาอธิบายส่วนองค์ความรู้ทางปรัชญาสามารถเปลี่ยนแปลงได้ไปตามยุคตามสมัย ตามความเชื่อ ปรัชญาจะมองทุกอย่างอย่างเป็นองค์รวม คำนึงถึงจิตใจและความเป็นองค์รวมของมนุษย์ ส่วนวิทยาศาสตร์ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยมีขั้นตอนของการสังเกต การตั้งสมมติฐาน และการอนุมาน ผลการทำนายของทฤษฎีจะถูกทดสอบด้วยการทดลองซ้ำๆ จนองค์ความรู้ที่ได้ไม่เปลี่ยนแปลงจนพัฒนาเป็นทฤษฎีและกฎต่อไป
ดังนั้นปรัชญาจึงเป็น ความรู้ที่เป็นหลักแห่งความรู้ และเป็น ความรู้ที่เป็นหลักแห่งความจริง ซึ่งเกี่ยวข้องกับทุกวิชา

กุหลาบ

กุสุมา กล่าวว่า...

ปกติแล้วปรัชญาเน้นความเชื่อซึ่งเป็นที่มาที่ไปของความรู้ วิทยาศาสตร์จะเกี่ยวกับข้อเท็จจริงต่าง ๆ และเป็นข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับโลกที่พวกเราทุกคนอาศัยอยู่ผ่านผ่านหลักฐานที่ชัดเจนจากการทดลอง การวิเคราะห์ ซึ่งซึ่งโดยแท้แล้วมันเป็น "ความรู้" นั่นเอง
ดังนั้นจะเห็นว่าความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์เป็นมากกว่าความคิดเห็น ความเชื่อ แต่อย่างไรก็ตามปรัชญาน่ายังใช้ได้กับความจริงที่ไม่สามารถใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาพิสูจน์ให้เห็นจริงได้
อย่างไรก็ตาม

Tunyarot กล่าวว่า...

ความรู้มิใช่ส่งที่เกิดขึ้นใหม่ แต่เป็นสิ่งที่มนุษย์ยังมิได้ค้นพบ ความรู้เป็นส่งที่ทีอยู่แล้วตามธรรมชาติ มนุษย์ทุกคนจึงมีสิทธ์ที่จะค้นพบความรู้นั้น การที่มนุษย์ใช้ความพยายามค้นหาความรู้หรือเหตุผลของสิ่งใดสิ่งหนึ่งจึงไม่จำเป็นต้องมีเหตุผลหรืออาศัยกฏเกณฑ์อะไร "นักปรัชญา" จึงน่าจะหมายถึงผู้ที่มีอิสระทางความคิดและจิตวิญญาณและรักที่จะเรียนรู้มากกว่าที่จะรักในความรู้

"จากปรัชญาสู่วิทยาศาสตร์" เปรียบเสมือนความไม่รู้ ไม่มีเหตุผล พยายามที่จะอธิบายความจริงของธรรมชาติ คำตอบสุดท้ายของวันนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นของพรุ่งนี้ "วิทยาศาสตร์" ไม่มีสิ่งใหม่แต่เป็นสิ่งที่รอวันค้นพบคำตอบ

มณฑา บรรจบกาญจน์ กล่าวว่า...

ปรัชญาเป็นเหมือนต้นตำรับของวิทยาศาสตร์ เพราะการเรียนรู้ต่างๆตามกระบวนการวิทยาศาสตร์เป็นกระบวนการที่ได้จากปรัชญา เพราะปรัชญาเป็นเรื่องที่เรียนรู้เกี่ยวกับความเป็นจริงและเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆในธรรมชาติเหมือนกับวิทยาศาสตร์
มณฑา บรรจบกาญจน์

มณฑา บรรจบกาญจน์ กล่าวว่า...
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ