28/6/51

ความเข้าใจเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ดูเหมือนว่าคำว่าเดิมที วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นคำสองคำที่มีความหมายแตกต่างกัน และส่วนมากก็ใช้แยกกัน ในบางครั้งที่ใช้ร่วมกัน ปัจจุบันมักได้ยินคำทั้งสองใช้ด้วยกันมากขึ้นทั้งนี้เพราะคำทั้งสองคำนี้มีความเกี่ยวข้องกัน อาจทำให้หลายคนคิดว่ารวมเป็นคำเดียวและใช้ควบคู่กันเสมอ ดังจะเห็นว่าคณะในมหาวิทยาลัยมักจะมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วิชาในสาขาวิทยาศาสตร์อย่างเดียวจะเป็นความรู้มูลฐาน โดยนักวิทยาศาสตร์จะศึกษาค้นคว้าความรู้ดังกล่าวเพื่อสนองตอบต่อความใคร่รู้ความอยากรู้อยากเห็น โดยไม่ได้คิดหวังผลประโยชน์จากการนำความรู้ไปใช้ ที่มีการเผยแพร่และสารณะชนสามารถนำไปใช้ได้ฟรีจัดเป็นวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ (pure science) ส่วนวิทยาศาสตร์ประยุกต์ (applied science) นั้นนำความรู้จากวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์มาประยุกต์ให้เข้ากับสถานะการณ์หรือปรากฏการใดปรากฏการหนึ่ง ที่อยู่ในความสนใจและเป็นประโยชน์สนองความต้องการของมนุษย์ในแง่มุมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์ กลายเป็นศาสตร์ต่างๆ เช่น การแพทย์ การเกษตร วิศวกรรม เภสัชกรรม เป็นต้น อย่างไรก็ตามวิทยาศาสตร์ประยุกต์ก็ยังเป็นเพียงความรู้ที่ได้ยากการศึกษาค้นคว้าเพื่อแสวงหาแนวทางในการใช้ประโยชน์ เช่นนักเคมีสกัดสารบางอย่างจากต้นไม้หรือสมุนไพรในการศึกษาโครงสร้างต่างๆ ของต้นไม้เป็นวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ แต่เมื่อนักเคมีหรือเภสัชกรศึกษาการนำสารสกัดดังกล่าวดูว่าจะใช้รักษาโรคอะไรได้บ้าง หรือนำไปสังเคราะห์เป็นส่วนผสมในน้ำยาทำความสะอาดใดบ้าง เป็นขั้นตอนการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ ซึ่งจะมีการทดลองทำให้แน่ใจว่าใช้รักษาโรคได้ ใช้เป็นสารทำความสะอาดได้จริง แต่เมื่อไรที่ไปถึงขั้นของการผลิต เพื่อจำหน่ายหรือใช้ประโยชน์ทางธุรกิจการค้า ที่ต้องอาศัยขั้นตอนกรรมวิธีในการผลิตก็จะกลายเป็นเทคโนโลยี (Technology)

คำว่า Technology มาจากคำภาษาอังกฤษ และคำนี้มาจากภาษากรีกคือ Technologia ซึ่งเดิมหมายถึงการกระทำที่เป็นระบบที่ก่อให้เกิดกรรมวิธีในการผลิต และสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ดังนั้นความหมายของเทคโนโลยีจึงเปลี่ยนไปเกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกล ประดิษฐกรรมใหม่ๆ และการอุตสาหกรรมดังที่เรียกกันว่าเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ความพยายามที่จะให้นิยามขอบเขตของคำว่าเทคโนโลยีที่น่าตรงตามสภาพปัจจุบัน คือความรู้ทางเทคนิคที่ใช้สำหรับการผลิตในอุตสาหกรรม และยังให้ความหมายครอบคลุมไปถึงความรู้ที่ไม่เกี่ยวกับอุตสาหกรรม เช่นการสร้างเขื่อน การส่งยานอวกาศ และการดำเนินชีวิตในประจำวัน ดังนั้นจึงมีความหมายกว้างๆ ของคำว่าเทคโนโลยีคือ ความรู้ที่มนุษย์ใช้ทรัพยากรให้เป็นประโยชน์แก่มนุษย์เองในการสนองความต้องการ และการควบคุมสิ่งแวดล้อม ตามความหมายประการหลังน่าจะครอบคลุมเพราะไม่ว่าจะผลิตอะไรก็ต้องใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์ที่รวมไปถึง การใช้แรงงานและพลังงาน ในการสร้างเขื่อนก็ควบคุมน้ำการไหลของน้ำโดยการกักเก็บน้ำไว้ เพื่อนำไปผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นต้น

การแบ่งแยกและการใช้ร่วมกันของคำว่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เมื่อมองในแง่ว่ามีความเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิด เพราะจะเกิดเทคโนโลยีขึ้นได้อยาถ้าไม่มีการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์มาก่อน และในบางครั้งเมื่อพูดถึงวิทยาศาสตร์ประยุกต์แล้ว จะครอบคลุมรวมไปถึงเทคโนโลยีด้วย ดังที่เคยมีนิยามกันว่าเทคโนโลยีก็คือการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ให้เกิดประโยชน์ และเป็นผลของวิทยาศาสตร์ แต่เนื่องจากว่าเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่เป็นความลับที่ไม่อาจเปิดเผยให้คู่แข่งขันทางเศรษฐกิจการค้าทราบ เทคโนโลยีจึงเป็นสิ่งที่ซื้อขายกันในท้องตลาดใครเป็นเจ้าของเทคโนโลยีก็จะเป็นผู้มีอำนาจมีอิทธิพลต่อโลกได้

เมื่อมองกันในแง่ว่า ไม่ว่าจะเป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ หรือเทคโนโลยี ก็ถือว่าเป็นความรู้ดังที่กล่าวกันเสมอว่าความรู้คือพลัง (knowledge is power) ซึ่งความรู้อาจแบ่งออกเป็นความรู้เชิงประกาศ (declarative knowledge) และความรู้เชิงกระบวนการ (procedural knowledge) และความรู้ประการหลังน่าจะเป็นความรู้ทางเทคโนโลยี สอดคล้องกับกล่าวกันว่าการนำความรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติที่จะให้ได้ผลดีก็ต้องมีทั้งความรู้และความสามารถที่จะนำความรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ทางปฏิบัตินั่นเอง

7 ความคิดเห็น:

James กล่าวว่า...

ผมคิดว่าบทความนี้อธิบายความแตกต่างระหว่างวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ดีมากครับ และโดยส่วนตัวแล้วเห็นด้วยกับความหมายในบทความนี้

ตอนที่เรียนปริญญาตรีอยู่เคยเรียนวิชาเกี่ยวกับจรรยาบรรณของวิศวกร มีสิ่งที่น่าสนใจที่อยากบอกต่อกันคือ ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์หรือกฎธรรมชาติเป็นสิ่งที่ไม่สามารถจดสิทธิบัตรได้ แต่การประยุกต์ใช้ทฤษฎีหรืกฎเหล่านั้นสามารถจดสิทธิบัตรได้ครับ ยกตัวอย่างเช่น ผู้ค้นพบกฎการหักเหของแสงเมื่อแสงเดินทางผ่านเลนส์ไม่สามารถจดสิทธิบัตรกฎของเขาได้ แต่ผู้ที่นำเลนส์ไปใช้ทำเป็นกล้องถ่ายรูปสามารถจดสิทธิบัตรของกล้องถ่ายรูปได้ เป็นตัวอย่างเฉยๆ นะครับเพราะสิทธิบัตรมีวันหมดอายุและในยุคที่เริ่มสร้างกล้องถ่ายรูปกันยังไม่มีการจดสิทธิบัตรที

เจมส์

วิไล กล่าวว่า...

วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่มีอยู่จริงและมีอยู่แล้วในธรรมชาติ เมื่อมนุษย์ ค้นพบ ทำความเข้าใจกับวิทยาศาสตร์ได้และนำมาใช้ประโยชน์ ตอบคำถาม แก้ปัญหาที่คนในยุคก่อนยังตอบไม่ได้และมีการเผยแพร่ขึ้นด้วยวิธีการที่หลากหลาย กลายเป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ดังนั้นเมื่อมีการนำวิทยาศาสตร์ประยุกต์ไปใช้ก็ใช้ในรูปแบบที่หลากหลายอีกจึงจำเป็นที่ต้องนำความรู้ที่ทันสมัยเข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงหรือเพื่อเพิ่มปริมาณงาน วิธีการที่ทันสมัยเหล่านี้ก็คือ เทคโนโลยีนั่นเอง ดังนั้นจะเห็นว่าในปัจจุบันวิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยีจะเป็นของคู่กันเสมอนะคะ

วิไล กล่าวว่า...

วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่มีอยู่จริงและมีอยู่แล้วในธรรมชาติ เมื่อมนุษย์ ค้นพบ ทำความเข้าใจกับวิทยาศาสตร์ได้และนำมาใช้ประโยชน์ ตอบคำถาม แก้ปัญหาที่คนในยุคก่อนยังตอบไม่ได้และมีการเผยแพร่ขึ้นด้วยวิธีการที่หลากหลาย กลายเป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ดังนั้นเมื่อมีการนำวิทยาศาสตร์ประยุกต์ไปใช้ก็ใช้ในรูปแบบที่หลากหลายอีกจึงจำเป็นที่ต้องนำเครื่องมือ ที่ทันสมัยเข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงหรือเพื่อเพิ่มปริมาณงาน วิธีการที่ทันสมัยเหล่านี้ก็คือ เทคโนโลยีนั่นเอง ดังนั้นจะเห็นว่าในปัจจุบันวิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยีจะเป็นของคู่กันเสมอนะคะ

วิไล กล่าวว่า...

วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่มีอยู่จริงและมีอยู่แล้วในธรรมชาติ เมื่อมนุษย์ ค้นพบ ทำความเข้าใจกับวิทยาศาสตร์ได้และนำมาใช้ประโยชน์ ตอบคำถาม แก้ปัญหาที่คนในยุคก่อนยังตอบไม่ได้และมีการเผยแพร่ขึ้นด้วยวิธีการที่หลากหลาย กลายเป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ดังนั้นเมื่อมีการนำวิทยาศาสตร์ประยุกต์ไปใช้ก็ใช้ในรูปแบบที่หลากหลายอีกจึงจำเป็นที่ต้องนำเครื่องมือ ที่ทันสมัยเข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงหรือเพื่อเพิ่มปริมาณงาน วิธีการที่ทันสมัยเหล่านี้ก็คือ เทคโนโลยีนั่นเอง ดังนั้นจะเห็นว่าในปัจจุบันวิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยีจะเป็นของคู่กันเสมอนะคะ

กุหลาบ กล่าวว่า...

อ่านบทความนี้แล้วทำให้เข้าใจความแตกต่างระหว่างวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้มากขึ้น
วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของทุกคน เริ่มตั้งแต่ การสังเกต รวบรวมข้อมูล ค้นคว้า ทดลอง สรุป ปรับปรุง พัฒนา ขยายผล โดยที่ไม่ร้ว่าการดำเนินชีวิตของตนนั้นเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในท้องถิ่นทั่วไปวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อาจจะมีความหมายเพียงแค่วิทยาศาสตร์ประยุกต์ แต่เมื่อมีกลุ่มทุนเข้าเกี่ยวข้องและสนับสนุนด้านเงินทุน วิทยาศาสตร์ประยุกต์ก็แปรสภาพเป็นวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ส่งผลให้สภาพแวดล้อมในชุมชนดั้งเดิมและวิถีชีวิตของชาวบ้านเปลี่ยนแปลงได้

กุหลาบ

ประณีต กล่าวว่า...

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ต้องไปด้วยกัน เพราะเทคโนโลยีเป็นการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ในการแปรรูปทรัพยากรให้เป็นประโยชน์กับมนุษย์ ซึ่งจะต้องมีขั้นตอนในการผลิต โดยได้ความรู้มาจากวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าไม่มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์ แต่ในขณะเดียวกัน ความรู้ทางวิทยาศาสตร์จะไม่เกิดประโยชน์เท่าที่ควรถ้าไม่มีเทคโนโลยี
แต่เทคโนโลยีที่ก้าวล้ำนำยุคในปัจจุบัน ทำให้ทรัพยากรหมดไปอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีมุ่งการผลิตทางอุตสาหกรรมมากกว่าที่จะใช้ในการควบคุมสิ่งแวดล้อม การใช้เทคโนโลยีจึงมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเกินกว่าที่จะคาดคิด

กุสุมา กล่าวว่า...

แน่นอนคะ วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยีต้องคู่กันไปเสมอ เพราะการนำความรู้ไปใช้เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ไม่มีวันหยุดกับที่ แม้กระทั่งการนำเทคโนโลยีมาเพื่อช่วยโลก และช่วยธรรมชาติที่นับวันมนุษย์เองกำลังทำลายอยู่ทุกวัน...ทุกวัน