28/6/51

วิทยาศาสตร์กับศาสนา

วิทยาศาสตร์จะยืนยันเฉพาะเพียงความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เป็นอยู่โดยรอบที่เกี่ยวเนื่องกับธรรมชาติ ส่วนศาสนาเกี่ยวข้องเฉพาะการประเมินความคิด และการกระทำของมนุษย์ ศาสนาไม่เอ่ยพาดพิงถึงข้อเท็จจริง การที่กล่าวว่า ทุกเรื่องในคัมภีร์เป็นจริงโดยไม่มีข้อโต้แย้งแสดงว่าศาสนาส่วนหนึ่งได้แทรกแซงเข้าไปในโลกวิทยาศาสตร์ ทำให้เกิดการต่อสู้ในบางกรณี ระหว่างศาสนาหรือโบสถ์กับทฤษฎีของกาลิเลโอ และชาร์ล ดาวิน แต่ในที่สุดในฝ่ายศาสนาก็จำยอมตามเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ที่ไม่อาจฝืนความเป็นจริงที่พิสูจน์ได้

อย่างไรก็ตามศาสนาก็เป็นตัวการกำหนดจุดหมายสูงสุดแห่งการดำรงค์อยู่ของมนุษย์ ที่วิทยาศาสตร์ก็ยังไม่มีจุดหมายที่แน่ชัดถึงการดำรงอยู่ และวิธีการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์เมื่อแก้ปัญหาหนึ่งได้ แล้วมักจะเกิดปัญหาใหม่ขึ้นเสมอยังไม่สามารถหาจุดที่สมบูรณ์ที่สุด และเช่นเดียวกันศาสนาก็ต้องเรียนรู้จากวิทยาศาสตร์ในบางอย่าง ถึงวิธีการที่จะให้บรรลุถึงจุดหมายที่กำหนดไว้ ดังเช่นไอน์สไตย์เคยกล่าวไว้ว่าวิทยาศาสตร์ที่ปราศจากศาสนาก็เหมือนคนเป็นง่อย ศาสนาที่ไม่มีวิทยาศาสตร์ก็ไปไม่ได้เช่นกัน

วิทยาศาสตร์จะสร้างขึ้นได้ก็ต้องอาศัยผู้มีความรักและศรัธา ด้วยความเชื่อในความจริง มีความเข้าใจอย่างมั่นคง มีความซาบซึ้งเข้าถึงสัจธรรมอันถือกำเนิดจากที่เดียวกับศาสนา เมื่อพิจารณาสิ่งที่เป็นธรรมชาติรวมทั้งตัวมนุษย์เองในทางวิทยาศาสตร์ได้แตกแขนงออกไปจากปรัชญาธรรมชาติมากมาย จึงไม่ต้องสงสัยว่าในทางศาสนาจะเรียกเพียงว่าธรรม อันรวม่ถึงกฏเกณฑ์ทางธรรมชาติต่างๆ ก็เรียกว่าธรรม แต่ทางศาสนามักจะเน้นในเรื่องที่เกี่ยวกับการประพฤติปฏิบัติถูกต้องตามธรรมชาติเพื่อให้เกิดความสงบสุขทั้งต่อตัวเองและสังคมโดยรวม ก็เรียกว่า ธรรมเช่นกัน

9 ความคิดเห็น:

James กล่าวว่า...
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
James กล่าวว่า...

ผมเห็นด้วยกับ Eistein ที่ว่าเราต้องมีทั้งศาสนาและวิทยาศาสตร์ครับ

บางครั้งทั้งสองมีความสอดคล้องกัน บางครั้งมีความขัดแย้งกัน เป็นเรื่องธรรมดา

เคยได้ยินว่า Eistein กล่าวว่าศาสนาพุทธนั้นเป็นศาสนาที่มีเหตุมีผลมากกว่าศาสนาอื่นและมีความเป็นวิทยาศาสตร์อยู่มาก โดยส่วนตัวแล้วเห็นด้วยอย่างยิ่ง เพราะยิ่งเราเรียนรู้ทฤษฎีใหม่ๆ เราก็ยิ่งพบว่าบ่อยครั้งที่ทฤษฎีเหล่านี้ถูกค้นพบโดยพระพุทธเจ้าเมื่อกว่า 2500 ปีมาแล้ว จริงๆ แล้วคำว่าธรรมะก็มาจากคำว่าธรรมชาติ (หรือกฎธรรมชาตินั่นเองครับ)

เจมส์

วิไล กล่าวว่า...

เห็นด้วยอย่างยิ่งเพราะว่า ไม่ว่าวิทยาศาสตร์จะหาคำตอบ พิสูจน์ ตอบคำถามต่างๆ ที่เป็น ธรรมชาติ และปรากฏการณ์ธรรมชาติได้เกือบทุกเรื่องแต่วิทยาศาสตร์ก็ไม่สามารถอธิบายถึงวิญญาณ ความรู้สึกและสามัญสำนึกของมนุษย์ได้ ดังนั้นทั้งศาสนา และวิทยาศาสตร์ต้องอยู่คู่กันเสมอขาดหรือปกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใดจะทำให้โลกเสียสมดุลทันทีคะ

วิไล กล่าวว่า...

เห็นด้วยอย่างยิ่งเพราะว่า ไม่ว่าวิทยาศาสตร์จะหาคำตอบ พิสูจน์ ตอบคำถามต่างๆ ที่เป็น ธรรมชาติ และปรากฏการณ์ธรรมชาติได้เกือบทุกเรื่องแต่วิทยาศาสตร์ก็ไม่สามารถอธิบายถึงวิญญาณ ความรู้สึกและสามัญสำนึกของมนุษย์ได้ ดังนั้นทั้งศาสนา และวิทยาศาสตร์ต้องอยู่คู่กันเสมอขาดหรือปกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใดจะทำให้โลกเสียสมดุลทันทีคะ

กัลยา กล่าวว่า...

วิทยาศาสตร์กับศาสนา เห็นด้วยนะที่สองคำนี้จะขาดกันไม่ได้ถ้าศาสนาเกิดจากความเชื่อความศรัทธาแล้วไม่พิสูจน์ความเชื่อนั้น ศาสนาก็ไม่เป็นตัวการกำหนดจุดมุ่งหมายสูงสุดแห่งการดำรงอยู่ในทุกเรื่อง วิทยาศาสตร์ก็เช่นเดียวกัน ถ้าไม่มีผู้ที่รักและศรัทธาก็ไม่มีการพิสูจน์ความจริงในธรรมชาติเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นสองคำนี้ต้องอยู่ด้วยกัน เพื่อให้เกิดความสงบสุขต่อเพื่อนมนุษย์โลก

ประณีต กล่าวว่า...

เห็นด้วยค่ะ เพราะวิทยาศาสตร์เป็นการหาความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ และหลักธรรมคำสอนของศาสนาพุทธหลายๆข้อ เป็นธรรมชาติ เป็นวิทยาศาสตร์ จนมีคำกล่าวว่า " ธรรมะ คือ ธรรมชาติ "

กุสุมา กล่าวว่า...

วิทยาศาสตร์คือความจริง ซึ่งความจริงที่หาหลักฐานมายืนยันความจริงได้ และเป็นธรรมชาติ ส่วนศาสนา คือข้อสมมติฐาน การคาดเดา อย่างไรก็ตามสังคมจะอยู่อย่างสมดุลได้ต้องอาศัยทั้งวิทยาศาตร์และปรัชญา ซึ่งจะต้องเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน ความคลุมเครือจากศาสนาจะได้รับคำตอบ คำอธิบายที่กระจ่างได้จากวิทยาศาสตร์

Tunyarot กล่าวว่า...

การพยายามเข้าใจธรรมชาติคือวิทยาศาสตร์ การเข้าใจศาสนาคือการเข้าใจมนุษย์ ศาสนาจึงมีอยู่ทั่วไปที่มนุษย์เข้าถึง และย่อมมีอยู่ในวิทยาศาสตร์ด้วย วิทยาศาสตร์อาจเข้าใจยากกว่าศาสนา ทั้งนี้เพราะศาสนามีการกำหนดเป้าหมายสูงสุดของมนุษย์ไว้ ใครไปถึงเป้าหมายก็จะพบจุดความสมบูรณ์ของชีวิต แต่วิทยาศาสตร์ไม่มีเป้าหมาย ไม่มีจุดจบ ไม่มีความมั่นคง!!

ศิริพร กล่าวว่า...

วิทยาศาสตร์กับศาสนามีความสัมพันธ์กันโดยเฉพาะศาสนาพุทธสามารถอธิบายได้ด้วยวิทยาศาสตร์