26/6/51

เรื่องของทะเล

บนโลกเรามีน้ำอยู่ 512 ล้านลูกบาศก์กิโลเมตร และจะมีเท่านี้ตลอดไป เพราะมันเป็นระบบปิด อาณาจักรของน้ำ มีชื่อเรียกว่า ไฮโรสเฟียร์ 97 เปอร์เซ็นต์ของน้ำอยู่ในทะล แหล่งน้ำทะเลที่ใหญ่ที่สุด คือ มหาสมุทรแปซิฟิก ใหญ่กว่าแผ่นดินทั้งหมดรวมกัน บอลล์กล่าวว่า เราไม่ควรเรียก ดาวเคราะห์ที่เราอาศัยอยู่นี้ว่า “Earth”ซึ่งหมายถึง ดิน แต่ควรเรียกว่า “น้ำ”
สามเปอร์เซ็นต์ของน้ำบนพื้นโลกเป็นน้ำจืด อยู่ในรูปของพีดน้ำแข็ง (ice Sheet) เกือบ 90 เปอร์เซ็นต์ของน้ำแข็งบนโลกอยู่ในทวีปแอนตาร์กติกา ที่เหลืออยู่ที่กรีนแลนด์ จะเห็นว่าทวีปแอนตาร์กติกา เพียงทวีปเดียวมีน้ำแข็งมากถึง 9.6 ล้านลูกบาศก์กิโลเมตร ถ้ามันละลายหมดจะทำให้น้ำในมหาสมุทรสูงขึ้นราว 200 ฟุต ระดับน้ำทะเลไม่เคยมีระดับเท่ากัน กระแสน้ำ ลมและคอริออลิส และปัจจัยอื่น ๆ มีผลทำให้ระดับน้ำทะเลเปลี่ยนแปลง ในท้องทะเลที่ลึกลงไปเกิน 2000 ฟุต จะไม่พบสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่เพราะไม่มีแสงสว่าง
การสำรวจท้องทะเลเกิดขึ้นเมื่อปี 1872 เป็นการสำรวจรวมระหว่างพิพิธภัณฑ์อังกฤษ สมาคมวิชาการ แห่งสหราชอาณาจักร และรัฐบาลอังกฤษ โดยใช้อดีตเรื่องสงคราม ชื่อ เอสเอมเอส แชลเลนเจอร์ ใช้เวลาในการเดินทางรอบโลก 3 ปี เพื่อเก็บตัวอย่างน้ำ มีเจ้าหน้าที่บนเรือประกอบด้วยนักวิทยาศาสตร์ และลูกเรือ 240 คน เก็บตัวอย่างสิ่งมีชีวิตใหม่ๆได้ 4,700 ชนิด และค้นพบว่ามีภูเขาหลายลูกจมอยู่ใต้กลางมหาสมุทรแอตแลนติก
การสำรวจน้ำลึก เริ่มขึ้นในปี 1930 โดยบีบีและบาร์ทัน ผู้ออกแบบยานทรงกลมสำรวจน้ำลึก เป็นยานที่เรียบง่ายไม่มีระบบบังคับ สิ่งที่หนึ่งที่ไม่ได้จากการสำรวจของพวกเขา คือ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ แม้พวกเขาจะได้เห็นสิ่งมีชีวิตมากมายที่ไม่มีใครเคยเห็นมาก่อน ด้วยข้อจำกัดด้านทัศนวิสัยและทั้งไม่ใช้นักสมุทรศาสตร์ในการสำรวจครั้งนี้ บีบี ได้เห็นงูยักษ์ที่ยาวกว่า 20 ฟุต และตัวอ้วนใหญ่มาก มันว่ายผ่านไปเร็วมาก หลังจากที่ทำลายสถิติการดำน้ำลึกได้ บีบีก็หมดความสนใจในการดำน้ำ แต่ในเวลาต่อมา ออกัสต์และณัคส์ พิคมาร์ค และเรือโทดอนวอลล์แห่งกองทัพเรือสหรัฐ ก็ค่อยดำลงสู่ก้นทะเลที่ลึกที่สุดของมหาสมุทร คือ มาเรียนาเทรนซ์ ซึ่งอยุ่ทางด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก มีความลึก 35,820 ฟุต หรือเกือบ 11 กิโลเมตร ใช้เวลาเกือบ 4 ชั่วโมง พวกเขาเห็นปลาตัวเบน พวกเข้าไม่มีอุปกรณ์ถ่ายภาพ จึงไม่มีรูปให้เห็น
เมื่อเข้าทศวรรษ 1950 กองทัพเรือมีแผนที่ที่ดีมากที่สามารถนำทางผ่านหุบผาชัน และอ้อมรอบภูเขายอดราบใต้มหาสมุทร แต่พวกเขาไม่ต้องการให้ข้อมูลเหล่านี้ตกไปอยู่ในมือของโซเวียด จึงเก็บเป็นความลับ นักวิชาการจึงได้แต่พึงพาข้อมูลหยาบที่ได้จากการสำรวจในอดีต
ในปี 1994 ถุงมือฮอกกี้น้ำแข็ง 3,400 ข้าง บนเรือขนส่งสินค้าเกาหลี ถูกพายุในมหาสมุทรแปซิฟิกกวาดลงทะเลถุงมือเหล่านี้ถูกพัดพาไปทั่วตั้งแต่เวนคูเวอร์จนถึงเวียดนาม ทำให้นักสมุทรศาสตร์ตามรอยกระแสน้ำได้ถูกต้องกว่าที่ผ่านมาในอดีต
ในปี 1977 ยานสำรวจอัลวิน ได้ค้นพบกลุ่มสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่มากมายอาศัยอยู่บนและรอบๆปล่องใต้มหาสมุทรที่ทอดลึกลงไปในเปลือกโลก นอกหมู่เกาะกาลาปากอส เช่น หนอนปล่องยาวกว่า 10 ฟุต หอยกาบตัวโตถึง 1 ฟุต กุ้งและหอยแมลงภู่จำนวนมากและหนอนสปาเกตตี้ดิ้นยุกยิก พวกมันอยู่ได้เพราะมีแบคทีเรียกลุ่มใหญ่ได้รับพลังงานและอาหารจากไฮโดรเจนชัลไฟด์ซึ่งเป็นสารประกอบที่มีพิษอย่างรุนแรงต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก ไฮโดรเจนซัลไฟด์นี้ลอยมาจากปล่อง มีความร้อนและพลังงานสูงมาก มีอุณหภูมิ 760 องศาฟาเรนไฮต์
ก่อนหน้านั้นเชื่อกันว่าไม่มีสิ่งมีชีวิตใดสามารถมีชีวิตรอดอยู่ได้ ในน้ำที่มีอุณหภูมิสูงเกิน 130 องศา แต่สิ่งนี้กลับมีชีวิตอยู่ได้และสามารถอยู่ได้ในน้ำที่เย็นจัด เรื่องนี้ช่วยไขปัญหาข้อหนึ่งในทางสมุทรศาสตร์ซึ่งพวกเราหลายคนไม่เคยตระหนักว่า มันคือ ปริศนานั้นก็คือ เมื่อเวลาผ่านไปเหตุใดมหาสมุทรจึงไม่เค็มขึ้น พูดให้ชัดคือ ในทะเลมีเกลืออยู่จำนวนมากพอที่จะกลบผังแผ่นดินทั้งหมดบนโลกจนสูงถึง 500 ฟุต ทุกๆวันน้ำนับล้านๆ แกลลอนระเหยไปจากมหาสมุทร แต่เกลือไม่ระเหย เพราะฉนั้นตามหลักเหตุผลแล้ว น้ำทะเลควรจะเค็มมากขึ้นตามเวลา แต่มันกลับไม่เป็นเช่นนั้น มีบางสิ่งที่ดึงเอาเกลือออกจากน้ำมากพอๆกับที่ใส่ลงไป เราใช้เวลานานมากกว่าที่จะรู้ว่าเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ใต้ก้นมหาสมุทรมีกากกัมมันตรังสีที่ถูกนำมาทิ้ง โดยมนุษย์แล้วกากกัมมันตรังสีมีผลต่อสิ่งมีชีวิตในทะเลมากน้อยเพียงใดไม่มีใครรู้ เพราะเราสนใจสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลน้อยมาก แม้แต่วาฬสีน้ำเงินที่เขาบอกว่า ลิ้นหนักเท่ากับช้าง 1 ตัว หัวใจใหญ่เท่ากับรถ เราไม่รู้ว่ามันใช้เวลาอยู่ที่ไหน สืบพันธ์ที่ไหน เรื่องน้อยนิดที่เรารู้จักวาฬนั้นเกือบทั้งหมดมาจากการแอบฟังเพลงของมัน
ประเมินกันว่าในทะเลมีสัตว์อาศัยอยู่มากกึง 30 ล้านชนิดและส่วนมากยังไม่เคยถูกค้นพบ เบาะแสที่บอกว่า ทะเลลึกนั้นอุดมไปด้วยสิ่งมีชีวิตมากมาย ปรากฏขึ้นในทศวรรษ 1960 มีการประดิษฐ์เครื่องมือสำหรับขุดและจับสิ่งมีชีวิต สามารถจับสิ่งมีชีวิตได้มากมายหลายชนิด เช่น หนอนปลาดาว ปลิงทะเล ในปลายทศวรรษ 1960 จอนห์ไฮแชด ได้หย่อนกล้องถ่ายภาพ โดยเอาเหยื่อผูกติดไว้ที่กล้อง เขาพบสิ่งมีชีวิตมากขึ้นและที่พิเศษ คือ พบฝูงปลาแฮกพิช สัตว์โบราณหน้าตาเหมือนปลาไหล และฝูงปลาเกรเนเดีย และพบสิ่งมีชีวิตจำนวนมากมาจากปล่องที่อยู่ไกลออกไป 1000 ไมล์ และในจำนวนนี้มีสัตว์ ประเภทหอยแมลงภู่ หอยกาบ ซึ่งเราแทบไม่รู้เลยว่ามันก็เป็นนักเดินทางที่ยิ่งใหญ่ด้วย
ทุกวันนี้เชื่อกันว่าตัวอ่อนของสิ่งมีชีวิตบางชนิดจะลอยไปตามกระแสน้ำ จนกระทั้งพวกมันมาถึงที่ที่มีอาหารอุดม ซึ่งพวกมันสามารถตรวจสอบได้ ด้วยวิธีทางเคมีบางอย่างที่เราไม่รู้แล้วก็ยึดหลักอาศัยอยู่ที่นั้น

1 ความคิดเห็น:

uvadee กล่าวว่า...

เราไม่ควรเรียก ดาวเคราะห์ที่เราอาศัยอยู่นี้ว่า “Earth”ซึ่งหมายถึง ดิน แต่ควรเรียกว่า “น้ำ” ถ้าอบ่างนั้นเรามาตั้งชื่อให้โลกกันใหม่ดีมั๊ย และที่ปากพนังมีหอยหลายชนิดที่ขึ้นชื่อคือ หอยกระพง คงลอยน้ำมาขึ้นฝั่งที่นี้ นับเป็นโชคดีของคนปากพนัง ช่วงนี้มีเยอะเลย แต่น้อมอย่าหวังจะกินหอยจากพี่นะเพราะผิดศีลข้อ 1 จ๊ะ....ยุวดี