24/6/51

ภายในชีวิต
ทุกชีวิตที่มีในโลกล้วนได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษจำนวนหลายล้านชีวิต เพราะฉะนั้นทุกคนในโลกนี้แท้จริงแล้วก็มีความสัมพันธ์กันในลักษณะเครือญาติทั้งสิ้น นักพันธุศาสตร์ชาวอังกฤษ มีการอธิบายเกี่ยวกับเรื่องนี้ ไว้ว่า ทุกชีวิตถูกควบคุมด้วย จีโนมที่คล้ายกัน ทุกคนจึงไม่เหมือนกันสนิทเสียที่เดียวถึงแม้ทุกชีวิตจะประกอบไปด้วยเซลล์ที่เหมือนกันถึง 99.99 %ชนิด เซลล์ที่ไม่เหมือนกันกับเซลล์อื่นเซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์ไข่ เซลล์เสปริ์ม และเซลล์ระบบภูมิคุ้มกัน และอธิบายเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า ทุกชีวิตประกอบไปด้วยเซลล์ ภายในเซลล์ มีนิวเคลียส และภายในนิวเคลียส ก็ยังประกอบด้วยโครโมโซมจำนวน 46 ตัว หรือ23 คู่ ซึ่งรับมาจากพ่อและแม่มาอย่างละครึ่ง ภายในโครโมโซมแต่ละตัวประกอบด้วยชุดคำสั่งที่เป็นทั้งตัวการสร้าง และควบคุมตัวเรา เป็นพันธะ เคมีเล็กๆที่เกาะกันเป็นเกลียวยาว ประมาณ 6 ฟุตเกาะกันเป็นรูป 3 มิติเป็นสาย Polymeที่ยาวชื่อ Polyneucleotide และกรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก ชื่อ DNA
ดีเอ็นเอจึงเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม แต่ดีเอ็นเอจะเป็นตัวที่กำหนดยีน ยีน ก็เป็นตัวกำหนด ลักษณะทางพันธุกรรม อีกทอดหนึ่ง DNA จึงเป็นโมเลกุลที่วิเศษที่สุดในโลกอัดตัวอยู่ในเซลล์ และเกิดมาเพื่อสร้าง DNA ตัวใหม่เพิ่ม DNA แต่ละตัวประกอบด้วยตัวอักษรรหัส ถึง 3.2 พันล้านตัว แต่ DNA ไม่มีชีวิต จะเป็นโมเลกุลเฉื่อยทางเคมี ไม่มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งต่างๆในโลก นี้เป็นความเห็นของ ริชาร์ด ลีวอนทิน นักพันธุศาสตร์ และได้นำมาใช้ในการสอบสวนการฆาตกรรมได้ต่อมา
โยฮันน์ ฟรีดริค มีสเชอร์ นักวิทยาศาสตร์ชาวสวิสได้ค้นพบ DNA จากหนองบนผ้าพันแผลผ่าตัดเขาตั้งชื่อมันว่า นิวคลีอีน เพราะมันอยู่ในเซลล์นิวเคลียสแต่ไม่ได้รับการยอมรับในยุคนั้นจนเกือบครึ่งศตวรรษคือต้นศตวรรษ 1900 โธมัส ฮันต์ มอร์แกน ได้ทำการศึกษา หลังจากการค้นพบงานทดลองต้นถั่วของเมนเดล คือเมนเดลจะใช้คำว่ายีน มอร์แกนเลยลงมือศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจังโดยเริ่มจากการศึกษาโครโมโซมเพราะโครโมโซมสามารถย้อมสีได้ ง่ายต่อการดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ และสัตว์ที่มอร์แกนใช้ศึกษาคือแมลงหวี ในที่สุดเขาก็สามารถพิสูจน์ให้ทุกคนเห็นว่า โครโมโซม คือหัวใจของการถ่ายทอด แต่ปัญหาก็ยังมี คือมอร์แกน ยังไม่ได้ให้คำตอบเรื่องยีน และDNAได้ตรงใจนักวิจัยหลานคนเขาจึงไม่เชื่อและหาข้อโต้แย้งต่างๆมายืนยันในที่สุด ออสวอลด์ เอเวอรีชาวแคนาดา ได้ทำการทดลองเขาทำให้แบคทีเรียที่ไม่มีอันตรายกลายเป็นแบคทีเรียที่ติดเชื้อถาวรด้วยการผสมข้ามพันธุ์กับ ดีเอ็นเอ แปลกปลอมสำเร็จ และสามารถพิสูจน์ได้ว่า ดีเอ็นเอเป็นมากกว่าเซลล์เฉื่อย แต่อัลเฟรด เมอร์สดี เพื่อนร่วมงาน ของเขาไม่เห็นด้วยและทำทุกอย่างเพื่อลบล้างความน่าเชื่อถือของเขาในที่สุด เอเวอรี ก็ลาออกจากตำแหน่งในสถาบันร็อกกีเฟลเลอร์ แต่ต่อมาก็มีการค้นคว้าเรื่อง ดีเอ็นเอ กันอีกโดยนักวิทยาศาสตร์ 4 คนชาวอังกฤษ สมมุติฐานของเขาคือถ้ากำหนดรูปร่างโมเลกุลของ ดีเอ็นเอได้แล้วจะรู้ว่าดีเอ็นเอ ทำหน้าที่อะไรในโครโมโซม เขาใช้เวลาถึง25ปี ในที่สุด เขาสามารถสร้างแบบจำลอง ดีเอ็นเอได้ และเปลี่ยนทฤษฏี ที่แค่เป็นไปได้จนเป็นทฤษฏีที่เป็นไปได้อย่างแท้จริง แม้จะเป็นเช่นนั้น แต่เมื่อนักวิทยาศาสตร์เริ่มเข้าใจโครงสร้าง ดีเอ็นเอ พันธุศาสตร์ก็ก้าวไกลไปอย่างรวดเร็วกว่าเขาอธิบายว่า 97% ของดีเอ็นเอไม่มีอะไร ที่สำคัญคือ เศษ หรือ ดีเอ็นเอ ที่ไม่ใช่รหัส และจุดต่างๆบนสาย ดีเอ็นเอ จะพบตัวที่ทำหน้าที่ควบคุมและจัดการหน้าที่สำคัญๆ มันคือ ยีน ยีนเป็นคำสั่งที่สร้างโปรตีนที่ไม่เหมือนกันและจะทำงานไม่เหมือนกัน แต่งานทุกงานที่เกิดขึ้นสัมพันธ์กัน เป็นงานของสิ่งมีชีวิต หรือที่รู้จักกันว่าจีโนมมนุษย์ จีโนมคือ คู่มือคำสั่งของร่างกาย โครโมโซมคือบทหนึ่งในคู่มือ ส่วนยีน เป็นคำสั่งในการสร้างโปรตีน คำที่ใช้เขียนคำสั่งเรียกว่า โคดอน เรียกอักษรที่ใช้เขียนว่า เบส เบสประกอบด้วยนิวคลีดอไทด์ 4 ชนิด คือ อะดีนีน ไธอามีน กัวนีน และไซโทซีน แม้งานที่ทำจะสำคัญเพียงใด สารเหล่านี้ก็แค่เกิดมาจากน้ำตาล ดีออกซิไรโบส กรดนิวคลีอิกที่ ชื่อ กรอดีออกซิไรโบนิวคลีอิกเท่านั้นเอง
ความวิเศษที่ไม่เหมือนใครของดีเอ็นเอคือ รูปแบบจำลองตัวเองของดีเอ็นเอ เมื่อถึงเวลาผลิตโมเลกุลใหม่สายยาวจะแยกจากกันแต่ละครึ่งก็จะออกไปสร้างใหม่โดยจับคู่กับนิวคลีโอไทด์แต่ละตัว ในการสร้างนี้มีบางครั้งที่เกิดผิดปกติขึ้น นักเคมีเรียกว่า สนิป และเป็นที่มาของสิ่งต่างๆที่คาดไม่ถึง เช่น เชื้อโรค แต่ก็มีโอกาสที่จะเป็นประโยชน์ด้วย แต่ผลของสนิป ที่อยู่ในตำแหน่งต่างๆ ทำให้ทุกๆคนต่างกัน ดังนั้นถ้าจะกล่าวว่าจีโนมมนุษย์ทั้ง 6 พันล้านชุดไม่มีส่วนใดเหมือนกันเลยก็ถือว่าไม่ผิด
เมื่อมีการศึกษาลึกลงไปอีก จะพบว่ามีกลุ่มยีนอยู่ชุดหนึงที่ทำหน้าที่บัญชาการเรื่องการเจริญของร่างกาย มันชื่อ ยีนฮอกช์ มีหน้าที่นำคำสั่งจาก ดีเอ็นเอไปไว้ในตำแหน่งที่ถูกต้อง เช่นตับ ไต และอวัยวะอื่นอยู่ได้ตามตำแหน่งที่เหมาะสม และทำให้สิ่งมีชีวิตทั่งมวลมีลักษณะเดียวกัน แต่ความสลับซับซ้อนภายใน ดีเอ็นเอยังมีอีกมากที่มนุษย์ยังหาคำตอบไม่ได้ และในต้นศตวรรษที่ 1990 มีการค้นพบที่ลึกซึ้งขึ้น พบว่าสามารถสกัดยีนได้ เอริค แลนเดอร์ จากเอ็นไอที กล่าวถึง โปรตีนโอม ของมนุษย์ ว่า คือห้องสมุดข้อมูลที่สร้างโปรตีน โปรตีนคือพลังงานของระบบสิ่งมีชีวิตทั้งมวลมีโปรตีนถึงร้อยล้านตัวอยู่ในเซลล์ทุกเซลล์ตลอดเวลา นั้นหมายถึงกิจกรรม พฤติกรรมและหน้าที่ของโปรตีน โปรตีนจะทำหน้าที่ของมันได้สมบูรณ์ต้องขึ้นกับองค์ประกอบทางเคมีที่เหมาะสม รูปร่าง และลักษณะการพับ และด้วยสาเหตุอื่นอีกมากมายที่เราคาดไม่ถึง ชนิดยิ่งค้นคว้ายิ่งลึกหรือยิ่งเรียนยิ่งมีเรื่องซับซ้อน แต่ทุกชีวิตคือผลงานที่ประณีต เกิดจากแผนสร้างสรรค์อันยอดเยี่ยม ในฐานะมนุษย์เราเป็นเพียงแค่การทวีจำนวน เราแต่ละคนคือ ที่เก็บบันทึกหลักฐานโบราณ ที่เก็บรวบรวมปรับแก้ ปรับตัว ปรับเปลี่ยนและปรับปรุง อย่างพอเหมาะพอดีย้อนหลังกลับไป3.8พันล้านปีเป็นเรื่องที่น่าสนใจที่เรามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันโดยแท้จริง ประโยคที่ไม่มีวันถูกยกขึ้นมากล่าวบ่อยอีกต่อไปคือ” ชีวิตทั้งมวลคือหนึ่งเดียวกัน”

3 ความคิดเห็น:

วิไล กล่าวว่า...

เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก เพราะเกี่ยวกับร่างกายของคนเรามีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ เซลล์ ซึ่งประกอบด้วยส่วนที่สำคัญคือนิวเคลียส ภายในนิวเคลียสมีหน่วยพันธุกรรมที่เรียนว่า ดีเอ็นเอ (DNA)ภายในดีเอ็นเอ มียีน ซึ่งเป็นตัวแสดงลักษณะของสื่งมีขีวิต ซึ่งถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากพ่อแม่สู่ลูกหลาน ทำให้มนุษย์อาจเป็นญาติกับทั้งโลก..... ยุวดี

uvadee กล่าวว่า...

เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก เพราะเกี่ยวกับร่างกายของคนเรามีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ เซลล์ ซึ่งประกอบด้วยส่วนที่สำคัญคือนิวเคลียส ภายในนิวเคลียสมีหน่วยพันธุกรรมที่เรียนว่า ดีเอ็นเอ (DNA)ภายในดีเอ็นเอ มียีน ซึ่งเป็นตัวแสดงลักษณะของสื่งมีขีวิต ซึ่งถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากพ่อแม่สู่ลูกหลาน ทำให้มนุษย์อาจเป็นญาติกับทั้งโลก..... ยุวดี

James กล่าวว่า...

เคยได้ยินมาเหมือนกันที่ว่าแม้ว่ายีนส์จะคล้ายกันมากแต่กลับมีความแตกต่างกันมาก เช่น ลิงชิมแปนซี มียีนส์ใกล้เคียงกับมนุษย์ถึง 98% แต่มนุษย์กลับแตกต่างจากลิงชิมแปนซีมาก

อีกอย่างคือต้องยอมรับว่าเอเวอรี่มีความมุ่งมั่นมากที่ใช้เวลาถึง 25 ปีในการทำให้โลกยอมรับในทฤษฎีของเขา

เจมส์

ทำไมคุณวิไลถึงเขียนเหมือนกับคุณยุวดีครับ