2/8/51

ความคิดที่ไม่เหมือนใครของ ชาร์ลส์ ดาร์วิน
ในศตวรรษ ที่ 18 ดาร์วิน กับ เมนเดล ไม่รู้เลยว่าเขากำลังทำงานเรื่องเดียวกันคือเขาได้วางรากฐานการศึกษาศาสตร์ เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ในศตวรรษ ที่ 20 คือ ดาร์วิน มองเห็นว่าสิ่งมีชีวิตทั้งหมดล้วนเชื่อมโยงกันสืบสายบรรพบุรุษเดียวกัน ขณะที่ เมนเดลก็ได้ให้กลไกที่จะอธิบายว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร เมลเดล มีผลงาน
origin of species ส่วนดาร์วิน มีทฤษฏี เรื่องมนุษย์สืบเชื้อสายมาจากลิงไม่มีหาง ซึ่งก็มีความหมายถึงวิวัฒนาการของมนุษย์ แต่ผลงานของทั้งสองคนก็ไม่ได้รับการยอมรับทั้งจากพระนักสอนศาสนาที่เชื่อว่า มนุษย์ มีทุกอย่างได้ต้องอาศัยความช่วยเหลือของพระเจ้า ต่อมามี อัลเฟรด รัสเซล วอลเลช ที่มีความคิดเหมือนเขาและได้ทำงานร่วมกัน ทฤษฏี on the origin of species ของ ดาร์วิน กล่าวถึงกลไกที่จะทำให้ชนิดพันธุ์แข็งแกร่งขึ้น ดีขึ้น หรือเคลื่อนไหวเร็วขึ้น มีประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่เขาไม่ได้กล่าวว่ามันทำให้เกิดชนิดพันธุ์ใหม่นี้ได้อย่างไร หลักฐานซากดึกดำบรรพ์ที่จะมาสนับสนุนก็ไม่มีเลย ฟลีมิง เจงคิน แย้งว่าลักษระที่เป็นประโยชน์ใน พ่อแม่ไม่ใช่ลักษณะเด่นในรุ่นต่อมา แต่จะถูกผสมให้อ่อนลงหรือเจือจางลงเรื่อยๆ ทุกครั้งที่มีการจับคู่ เรื่องบังเอิญเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวนักชีวะวิทยาคนอื่นๆ ให้เหตุผลว่าถ้า เขาอ้างว่าถ้ามีชนิดพันธุ์ใหม่อยู่จริงจะต้องมีชนิดที่อยู่ตรงกลาง กระจายอยู่ทั่วเช่นกัน ในขณะที่เมนเดล ได้ทำการทดลองปลูกถั่ว 7 ชนิดเพื่อให้แน่ใจว่ามันผสมพันธุ์อย่างถูกต้อง ใช้ต้นถั่วถึง 3 หมื่นต้นทดลองครั้งแล้ครั้งเล่าจนสรุปลักษณะทางพันธุกรรม 2 ลักษณะ คือ ลักษณะ เด่น (dominant) กับ ลักษณะด้อย (recessive) ลักษณะเหล่านี้เมื่อรวมกันแล้ว จะให้ลูกหลานที่มีลักษณะที่คาดเดาได้เขานำผลที่ได้มาเขียนสูตรคณิตศาสตร์ที่ชัดเจน นั้นก็คือคำตอบที่ดาร์วินยังหาคำตอบไม่ได้นั้นเอง