26/6/51

โครม!

"โครม" เป็นเรื่องราวของการโต้แย้งในข้อสรุปทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์ โดยนักวิทยาศาสตร์แต่ละกลุ่มมีแนวคิดหรือข้อสันนิษฐานของตน ซึ่งได้จากการสำรวจและศึกษาวิจัยจากข้อมูลในหลายๆ องค์ประกอบ แล้วนำมาเชื่อมโยงเป็นทฤษฎีของตนเองขึ้น ต่างฝ่ายก็มีทั้งข้อสนับสนุนและโต้แย้งที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ แต่ที่สำคัญประเด็นข้อขัดแย้งเหล่านี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาในวิทยาการด้านต่างๆ อย่างมากมาย ซึ่งนับว่าเป็นผลดีในแง่ของความหลากหลายทางวิชาการ ประเด็นข้อขัดแย้งทางวิทยาศาสตร์ที่ว่า เริ่มจากการขุดพบก้อนหินรูปร่างประหลาดที่เมืองแมนสัน ในรัฐไอโอวา นักวิทยาศาสตร์ได้ตั้งข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับที่มาของหินอย่างผิดพลาด แต่ต่อมาเมื่อได้มีการศึกษาวิจัยอย่างจริงจังกลับกลายเป็นว่าเป็นหินจากนอกโลก โดยสรุปคือ ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของเมือง แมนสันเกิดจากอุกกาบาตจากนอกโลกพุ่งชน จากข้อสรุปดังกล่าวทำให้นักวิทยาศาสตร์หลายคนในช่วงต้นศตวรรษ 1950 อาทิเช่น ยูจีน ชูเมกเกอร์ (Eugene Shoemaker) และ เอเลนอร์ เฮลิน (Eleanor Helin) เริ่มสำรวจระบบสุริยจักรวาลจริงจัง ทำให้ค้นพบดาวเคราะห์น้อยเป็นจำนวนมากในระบบสุริยจักรวาล แต่สิ่งสำคัญคือ ไม่มีใครไปเบี่ยงเบนทิศทางไม่ให้พุ่งชนโลกได้ นั่นคือ ดาวเคราะห์น้อยดวงไหนๆ ก็มีโอกาสพุ่งชนโลกได้ทั้งนั้น ซึ่งสรุปแล้วมีดาวเคราะห์น้อยราวๆ 2,000 ดวงที่พอจะทำลายล้างอารยธรรมของโลกได้ ดวงที่เคยผ่านโลกไปในระยะใกล้ประมาณ 170,000 กิโลเมตร ซึ่งพบเมื่อปี 1991 คือ 1991 BA ในขณะที่จีน ชูเมกเกอร์ กำลังเตือนให้โลกรับรู้ในอันตรายของระบบสุริยะ มีการค้นพบของนักธรณีวิทยาที่อิตาลีตอนต้นปี 1979 เกี่ยวกับแถบดินสีแดงๆ ขาวๆ ที่เป็นตัวแบ่งระหว่างชั้นหินปูนโบราณสองชั้น ชั้นหนึ่งมาจากยุคครีเตเชียส อีกชั้นเป็นยุคเทอร์เชียรี สิ่งที่พบนี้เรียกกันว่า พรมแดนเคที (KT boundary) สิ่งนี้ใช้บ่งบอกระยะเวลา 65 ล้านปีก่อน อันเป็นช่วงเวลาที่บันทึกของฟอสซิลระบุว่า ไดโนเสาร์และสัตว์สปีชีส์อื่นๆ ประมาณครึ่งโลกได้สุญพันธุ์ไปอย่างฉับพลันทันที ในเรื่องนี้ทำให้วอลเตอร์ อัลวาเรซ (Walter Alvarez) ต้องศึกษาหาหลักฐานมาประกอบแนวคิดซึ่งขัดแย้งกับความเชื่อดั้งเดิมว่าการสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์ค่อยๆ สูญพันธุ์ไปโดยใช้เวลาหลายล้านปี อัลวาเรซได้รับความช่วยเหลือจากพ่อของเขา ลูอิส อัลวาเรซ (Luis Alvarez) ซึ่งเป็นนักนิวเคลียร์ฟิสิกส์รางวัลโนเบล และเพื่อนร่วมงาน แฟรงค์ อาซาโร (Frank Asoro) ใช้เทคนิคการวัดองค์ประกอบทางเคมีโดยใช้กระบวนการที่เรียกว่า "การวิเคราะห์กิจกรรมทางนิวตรอน" ผลการทดลองบ่งชี้ว่า "โลกเคยถูกดาวเคราะห์น้อยหรือไม่ก็ดาวหางพุ่งชน" ซึ่งอ้างอิงมาจากการตรวจวิเคราะห์อิริเดียมที่มีมากกว่าระดับปกติถึงหลายร้อยเท่า แต่ฝ่ายตรงข้ามกับทฤษฎีของ อัลวาเรซ คนสำคัญคือ ชาร์ลส์ ออฟฟิชเชอร์ (Charles Officer) ยืนกรานว่า อิริเดียมสะสมจากกิจกรรมของภูเขาไฟ มิใช่เกิดจากการระเกิดใหญ่ขึ้นครั้งเดียวแล้วทำให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ หลักฐานที่ยืนยันแนวความคิดของอัลวาเรซอีกประการหนึ่งคือหลุมอุกกาบาต แต่จากการปรับปรุงข้อมูลทางธรณีวิทยาระบุว่า แมนสันไม่ใช่หลุมอุกกาบาต อย่างไรก็ตามกลับมีการค้นพบจุดที่อุกกาบาตที่เมืองชิกซูลับ (Chicxulub) ของประเทศเม็กซิโกในปี 1990 และเป็นเวลาที่ประจวบเหมาะคือ มีการพุ่งชนของดาวเคราะห์โดยธรรมชาติ คือ ดาวหางชูเมกเกอร์-เลวี 9 พุ่งชนดาวพฤหัส การพุ่งชนครั้งนี้สร้างความเสียหายให้กับพื้นผิวดาวพฤหัสเท่ากับโลก เกิดความเสียหายมากกว่าที่ประเมินไว้ ซึ่งเป็นหลักฐานยืนยันความคิดของอัลวาเรซ การพุ่งชนของดาวเคราะห์หรือดาวหางได้มีการประเมินสถานการณ์ไว้อย่างน่าสนใจ ดังนี้ 1. อุณหภูมิที่สูงถึง 60,000 เคลวิน หรือสิบเท่าของอุณหภูมิดวงอาทิตย์เมื่อผ่านเข้ามาในชั้นบรรยากาศ ทุกสิ่งในทางผ่าน เช่น บ้านเรือน ผู้คน รถ จะหดเหี่ยวและหายไปเหมือนเยื่อกระดาษบางๆ ที่โดนเปลวไฟ 2. แรงระเบิดจะกระจายหิน ดิน และก๊าซร้อนจัด ออกไปโดยรอบในรัศมี 250 กิโลเมตร สิ่งมีชีวิตจะตายด้วยแรงระเบิดและไกลออกไปถึง 1,500 กิโลเมตร การทำลายล้างจากระเบิดจึงค่อยๆ สงบลง 3. ผลจากการพุ่งชนก่อให้เกิดแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด เกิดคลื่นสึนามิภายใน 1 ชั่วโมง เมฆที่เกิดจากฝุ่นผงจะปกคลุมโลก ชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ที่ถูกปกคลุมจะทำให้ระบบต่างๆ ถูกทำลาย และทำให้สภาวะอากาศของโลกเลวร้ายต่อมาอีกราว 10,000 ปี 4. เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากที่จะตรวจพบดาวเคราะห์น้อยหรือดาวหางที่จะพุ่งเข้ามาชนโลก และถึงตรวจพบล่วงหน้าเป็นปีก็ไม่อาจรับมือกับสถานการณ์ได้ จากการคำนวณพบว่าทุกๆ หนึ่งล้านปีจะมีการพุ่งชนครั้งใหญ่

5:50:00 ก่อนเที่ยง
โดย Tunyarot

1 ความคิดเห็น:

uvadee กล่าวว่า...

ระวังโครม!*... การพุ่งชนของดาวเคราะห์หรือดาวหางทำให้โลก บ้านเรือน ผู้คน รถ จะหดเหี่ยวและหายไปเหมือนเยื่อกระดาษบางๆ ที่โดนเปลวไฟ ไหนว่าระเบิดจนเหี่ยวหมดยังกระจายอีก การทำลายล้างจนหมด จึงจะ สงบลงได้ (เหมือนพฤติกรรมของคนบางคน) ผลจากการพุ่งชนก่อให้เกิดแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด เกิดคลื่นสึนามิภายใน 1 ชั่วโมง เมฆที่เกิดจากฝุ่นผงจะปกคลุมโลก ชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ที่ถูกปกคลุมจะทำให้ระบบต่างๆ ถูกทำลาย และทำให้สภาวะอากาศของโลกเลวร้าย (เชื่อว่าจะเป็นอย่างนี้จริงๆถ้าถูกชนโครมใหญ่) แต่ก็อีกหนึ่งล้านปีถึงจะมีการพุ่งชนครั้งใหญ่ รู้สึกว่าเมื่อถึงเวลานั้นเราคงได้เห็นโลกมีสีสรรพ์เหมือนจุดพลุ ต้องอยู่ร่วมฉลองกันหน่อยนะ ....ยุวดี