25/6/51

ความอุดมสมบูรณ์ของชีวิต

พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติในกรุงลอนดอน เป็นสถานที่เก็บรักษาวัตถุราว 70 ล้านชิ้น ของเหล่านี้มาจากทุกอาณาจักรของสิ่งมีชีวิตและจากทุกมุมโลก ทั้งพืชและสัตว์ เก็บรักษาไว้ด้วยวิธีการต่างๆ กัน การได้เข้ามาสถานที่นี้เหมือนกับการได้ท่องไปในสมองของดาร์วิน ผู้ที่เป็นคนเก็บสะสมวัตถุล้ำค่านี้ เช่น โจเซฟ แบงก์ส (Joseph Banks) อเล็กซานเดอร์ วอน ฮูมโบลด์ (Alexander von Humboldt) และดาร์วิน นอกจากนี้ยังมีนักสะสม เช่น ริชาร์ด ไมเนิร์ต ฮาเกน (Richard Minertzhagen) ผู้เขียนหนังสือ Bird of Arabia นอร์แมน ผู้ศึกษาพืชชนิดเดียวชื่อ เซนต์จอห์นลิเวิร์ต เป็นเวลาถึง 42 ปี และ เลน เอลลิส (Len Ellis) ผู้ศึกษาไบรโอไฟต์ หรือมอสส์
มอสส์ชอบด้านทิศเหนือของต้นไม้มากกว่าด้านอื่นๆ ซึ่งมีความหมายรวมถึงไลเคนด้วย แต่ในศตวรรษที่ 19 ยังไม่มีการแยกระหว่างมอสส์กับไลเคน เฮนรี เอส คอนาร์ด (Henry S. Conard) เขียนไว้ในหนังสือ How to Know the mosses and Liverworts ว่า “ไม่มีกลุ่มพืชขนาดใหญ่มากๆ กลุ่มใดจะไร้ประโยชน์ยิ่งไปกว่ามอสส์อีกแล้ว ไม่ว่าจะในด้านการค้าหรือด้านเศรษฐกิจ”
มอสส์เป็นพืชที่อยู่ในอาณาจักรไบรโอไฟต์ ประกอบด้วยชนิดพันธุ์มากกว่า 10,000 ชนิด ที่จัดอยู่ใน 700 สกุล มอสส์เป็นพืชเขตร้อน แถบประเทศมาเลเซียจะพบความหลากหลายของพืชชนิดนี้มาก ปัจจุบัน มอสส์ถูกจัดอยู่ใน 3 สกุล คือ เดรพาโนคลาดัส วามสทอร์เฟีย และฮามาทาคูลิส เมื่อมีการพบมอสส์ชนิดใหม่จะต้องนำไปเปรียบเทียบกับชนิดอื่นทั้งหมดเพื่อให้แน่ใจว่ายังไม่เคยมีการจดบันทึก จากนั้นเขียนรายละเอียดอย่างเป็นทางการ เตรียมภาพประกอบ และตีพิมพ์ ซึ่งต้องใช้เวลาทั้งหมดไม่น้อยกว่า 6 เดือน
การเก็บตัวอย่างมอสส์โดยผู้เชี่ยวชาญหลายท่าน เช่น ชาร์ลส์ ไลเยลล์ (Charles Lyell) จอร์จ ฮันต์ ( George Hunt) ทำให้คอลเล็กชั่นมอสส์ของ เลน เอลลีสมีความสมบูรณ์ครบถ้วนมากที่สุดในโลกเพราะมีมากถึง 7.8 แสนตัวอย่าง บางชิ้นเคยอยู่ในความครอบครองของ โรเบิร์ต บราวน์ (Robert Brown) นักพฤกษศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ ผู้ค้นพบปรากฎการณ์บราวเนียน โมซัน และนิวเคลียสของเซลล์ ผู้ก่อตั้งและดูแลแผนกพฤกษศาสตร์ของพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติเป็นเวลาถึง 31 ปี
โจเซฟ แบงก์ส นักพฤกษศาสตร์ของอังกฤษ ได้สำรวจข้อมูลทางพฤกษศาสตร์ โดยเดินทางไปกับเรือเอ็นเดเวอร์ ที่มีกัปตันคุกเป็นกัปตันเรือ และประสบความสำเร็จในการเดินทาง เพราะได้ศึกษาและเก็บตัวอย่างพืชจากสถานที่ต่างๆ ที่ไม่เคยไป ประกอบกับแบงก์สเป็นนักสะสมที่มีไหวพริบและสร้างสรรค์แม้ในยามที่ไม่สามารถขึ้นฝั่งที่รีโอเดจาเนโรได้เพราะเป็นด่านกักกันโรค เขาก็ไปสำรวจตามลังอาหารสัตว์และได้ค้นพบพืชชนิดใหม่ๆ อีกหลายชนิด เขานำตัวอย่างพืชกลับมากว่า 3 หมื่นตัวอย่าง ซึ่งในจำนวนนี้มี 1,400 ตัวอย่างที่ไม่เคยพบมาก่อน
ในศตวรรษที่ 18 การเก็บรวบรวมตัวอย่างพืชกลายเป็นความบ้าคลั่งระดับนานาชาติ ความรุ่งเรือง ความมั่งคั่งรอคอยผู้ที่สามารถพบพืชชนิดใหม่ๆ ธอมัส นัตทอลล์ (Thomas Nuttall) ผู้ตั้งชื่อหวายสีม่วงตามชื่อ แคสปาร์ วิสตาร์ (Caspar Wista) จอห์น เฟรเชอร์ (John Fraser) ชื่อของเขาถูกนำไปตั้งชื่อสนเฟอร์เฟรเชอร์ และจอห์น ลีเอิง นักพฤกษศาสตร์สมัครเล่น
บนโลกมีสิ่งมีชีวิตอยู่มากมาย คาร์ล ลินเน (Carl Linne) หรือ คาโรลัส ลินเนียส (Carolus Linnaeus) ชาวสวีเดน ศึกษาด้านการแพทย์ในสวีเดนและฮอลแลนด์ แต่ที่เขาสนใจคือโลกของธรรมชาติ เมื่ออายุราว 20 ปี เขาเริ่มทำหนังสือและรวบรวมรายชื่อพันธุ์พืชและสัตว์ของโลกโดยใช้ระบบที่คิดขึ้นเอง ระบบการแบ่งหมวดหมู่สิ่งมีชีวิตของเขาเป็น “ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกวิทยาศาสตร์” ลินเนียสมีนิสัยหมกมุ่นในเรื่องเซ็กซ์ เขาแบ่งกลุ่มพืชตามธรรมชาติของอวัยวะสืบพันธุ์ แต่ระบบการจัดหมวดหมู่ของเขาก็เป็นสิ่งที่ไม่มีใครปฏิเสธหรือโต้แย้งได้ ก่อนหน้าที่จะมีระบบลินเนียส การตั้งชื่อพืชเป็นไปในลักษณะที่ให้รายละเอียดขยายความยืดยาว และการตั้งชื่อที่ไม่สอดคล้องเป็นระเบียบ ลินเนียสแก้ปัญหาความวุ่นวายและสามารถนำมาใช้จัดระบบหมวดหมู่ เป็นที่ยอมรับของทุกคนได้เพราะความสามารถบอกลักษณะเด่นของแต่ละชนิดได้ งานตลอดชีวิตของ ลินเนียส คือ การปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องการจัดหมวดหมู่พืชและสัตว์ด้วยการแบ่งหมวดหมู่สิ่งมีชีวิตทั้งหมดตามลักษณะทางกายภาพ อนุกรมวิธาน ตลอดชีวิต ลินเนียสตั้งชื่อและบันทึกพันธุ์พืชและสัตว์ถึง 13,000 ชนิด คุณสมบัติที่มีอยู่ในงานของเขาที่ไม่มีใครเทียบได้ คือ ความสอดคล้อง เป็นระเบียบ เรียบง่ายและไม่มีวันล้าสมัย
ระบบของอนุกรมวิธานยังมีความสับสนวุ่นวายเกี่ยวกับการแบ่งไฟลัมของสัตว์ มีความเข้าใจไม่ตรงกัน ในการแก้ปัญหาความไม่ลงรอยกันในระดับโลก ได้มีการตั้งคณะทำงานที่มีชื่อว่า สมาคมอนุกรมวิธานพืชนานาชาติ (International Association for Taxonomy) ขึ้น เพื่อทำหน้าที่ตัดสินชี้ขาดปัญหาเรื่องชื่อไหนมาก่อนและชื่อไหนเป็นชื่อซ้ำ เราจะพบว่ามีการโต้เถียงและการจัดเรียงลำดับต้นแบบตัวเดียวกันใหม่ในอาณาจักรสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ทั้งหมด ดังนั้นการทำบัญชีรายชื่อจึงไม่ใช่เรื่องที่จะทำได้ง่ายๆ อย่างที่คิด เพราะเราไม่รู้เลยแม้แต่น้อยว่าจำนวนสิ่งมีชีวิตบนโลกของเรามีอยู่เท่าไร “ไม่รู้ แม้กระทั่งจำนวนที่ใกล้เคียงที่สุด” ตัวเลขที่ประเมินกันก็คือ ตั้งแต่ 3 ล้านถึง 200 ล้าน และจากรายงานในนิตยสาร The Economist กล่าวว่ายังมีชนิดของพืชและสัตว์อีกกว่า 97 เปอร์เซนต์คอยให้เราค้นพบ ในบรรดาสิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่เรารู้จัก มีมากกว่าร้อยละ 99 ที่เรามีเพียงรายละเอียดหยาบๆ ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะว่า นักอนุกรมวิธานที่ทำงานอยู่มีราว 10,000 คน ซึ่งเป็นจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับสิ่งมีชีวิตที่ต้องจดบันทึกและที่สำคัญการขาดแคลนกำลังเงินและศักดิ์ศรี
ในปี 2001 เควิน เคลลี (Kevin Kelly) ตั้งองค์กรชื่อ มูลนิธิชนิดพันธุ์ (All Species Foundation) ขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อค้นหาสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลกและเก็บบันทึกไว้ในฐานข้อมูล ด้วยเหตุผลหลักที่เรารู้จักสิ่งมีชีวิตบนโลกน้อยมาก 3 ประการ คือ
สิ่งมีชีวิตส่วนมากมีขนาดเล็กและมองเห็นยาก
ผู้เชี่ยวชาญน้อยเกินไป
โลกเราเป็นที่กว้างใหญ่ไพศาล

1 ความคิดเห็น:

uvadee กล่าวว่า...

ความอุดมสมบูรณ์ของชีวิต หัวเรื่องเข้ากันได้ดีมากๆสำหรับยุคนี้เพราะข้าวยากน้ำมันแพง (ก็ไม่รู้จะเข้ากันได้อย่างไร) จากที่ทราบมอสส์ เป็นตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศได้...ยุวดี