28/6/51

สัตว์สองเท้าลึกลับ
ปี ค.ศ.1887 ฟอรงซัวส์ โธมัส ดูบัวส์ ชาวดัตซ์ ได้ออกค้นหากระดูกมนุษย์โบราณบนเกาะสุมาตรา เนื่องจากบนเกาะสุมาตรามีถ้ำเป็นจำนวนมาก และซากดึกดำบรรพ์ที่สำคัญของโฮมินิดมักถูกพบในถ้ำ
ในขณะนั้นมีหลักฐานซากมนุษย์ดึกดำบรรพ์อยู่น้อยมาก ได้แก่โครงกระดูกมนุษย์นีแอนเดอร์ธัลที่ไม่สมบูรณ์ 5 โครง ซากมนุษย์สมัยน้ำแข็งครึ่งโหล ตัวอย่างมนุษย์นีแอนเดอร์ธัลที่มีสภาพดีที่สุดถูกเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ฮันเทอเรียนในกรุงลอนดอน
ปี 1891 ดูบัวส์พบชิ้นส่วนกะโหลกหุ้มสมองมนุษย์โบราณ บนเกาะชวา ชิ้นส่วนกะโหลกแสดงให้เห็นว่าเจ้าของกะโหลกมีลักษณะไม่เหมือนมนุษย์ มีสมองใหญ่กว่าลิงไม่มีหาง(ape) เรียกมันว่า พิเธแคนโธรพัส อิเร็กตัส แต่รู้จักกันดีชื่อ “มนุษย์ชวา” ทุกวันนี้เรียกมันว่า โฮโม อิเร็กตัส ปีถัดมา คนงานของดูบัวส์ขุดพบกระดูกต้นขาสภาพสมบูรณ์ ดูบัวส์ใช้กระดูกต้นขาในการอนุมานว่า พิเธแคนโธรพัส เดินตัวตรง
ปี 1924 เรย์มอน ดาร์ต ชาวแอฟริกาใต้ ได้รับกะโหลกเด็กที่ส่งมาจากเมืองหินปูน ที่ตั้งอยู่ขอบทะเลสาบคาลาฮารี ตรงจุดที่เรียกว่าทาอุง กะโหลกมีขนาดเล็กอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ และมีส่วนที่เรียกว่า “แบบพิมพ์สมอง” (endocast) ที่เกิดจากธรรมชาติ ดาร์ตรู้ว่ากะโหลกทาอุงไม่ใช่โฮโม อิเร็กตัส แต่เป็นของมนุษย์ยุคก่อนหน้านั้น มีลักษณะเหมือนลิงไม่มีหางมากกว่า เขาคะเนอายุว่าอยู่ที่ 2 ล้านปี และตั้งชื่อมันว่า ออสตราโลพิเธคัส แอฟริกานัส หรือ “มนุษย์วานรทางใต้ของแอฟริกา”
ในประเทศจีน เดวิดสัน แบล็ค ชาวแคนาดา ออกค้นหากระดูกที่ภูเขาดราก้อนโบน เขาพบซากดึกดำบรรพ์ของฟันกรามชิ้นหนึ่ง และประกาศว่าเขาได้พบ ซิแนนโธรพัส พิเคเนนซิส ที่รู้จักกันในชื่อ “มนุษย์ปักกิ่ง”
ที่แหล่งขุดค้นบนเกาะชวา ราล์ฟ วอน เคอนิกชวาล ค้นพบมนุษย์ดึกดำบรรพ์อีกกลุ่มหนึ่ง รู้จักกันในชื่อชาวโซโล ซึ่งตั้งตามสถานที่ที่พบคือแม่น้ำโซโล
ปีต่อๆมามีการค้นพบกระดูกและตั้งชื่อมากขึ้น ทำให้มีชื่อใหม่ๆเกิดขึ้นมากมาย ปี 1960 เอฟ.คลาร์ค ฮาวเอิลล์ แห่งมหาวิทยาลัยชิคาโก พยายามเสนออันดับใหม่ โดยให้ลดจำนวนสกุลลงให้เหลือแค่ 2 สกุล คือ ออสตราโลพิเธคัส กับโฮโม มนุษย์ชวากับมนุษย์ปักกิ่งจึงเป็น โฮโม อิเร็กตัส
ทศวรรษ 1960 โฮโม ฮาบิลิส ถือกำเนิดขึ้น ตามมาด้วยชนิดพันธุ์ของโฮมินิดอีกหลายชนิด กลุ่มที่น่าสนใจคือ ออสตราโลพิเธซีน (Austral มาจากภาษาลาติน หมายถึงทางทศใต้)
โฮโม อิเร็กตัส เคยเดินอยู่บนโลกนานกว่า 1 ล้านปี มีถิ่นอาศัยตั้งแต่ทวีปยุโรปด้านมหาสมุทรแอตแลนติก ไปจนถึงประเทศจีนด้านชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก เป็นกลุ่มที่ใช้เครื่องมือ เป็นพวกแรกที่รู้จักล่าสัตว์ รู้จักใช้ไฟ รู้จักประดิษฐ์เครื่องมือที่ซับซ้อน เป็นพวกแรกที่ทิ้งหลักฐานว่ามีการตั้งถิ่นฐาน และเป็นพวกแรกที่รู้จักดูแลคนที่ตัวเล็กและอ่อนแอกว่า โฮโม อิเร็กตัส มีแขนขาผอมยาว ร่างกายแข็งแรงมาก มีพละกำลังและสติปัญญาที่ขยายเผ่าพันธุ์ครอบครองพื้นที่กว้างใหญ่ โครงกระดูกเพศหญิง อายุ 1.7 ล้านปี ชื่อ KNM-ER 1808 บอกให้ทราบว่าโฮโม อิเร็กตัส กินเนื้อสัตว์
กลุ่มออสตราโลพิเธซีน ถือกำเนิดเมื่อราว 7 ล้านปีก่อน ในป่าเขตร้อนของทวีปแอฟริกา แล้วเริ่มอพยพมาอาสัยอยู่ในทุ่งหญ้าซาวันนา ออสตราโลพิเธซีน มีรูปร่างหลายแบบ บางคนบอบบางอ้อนแอ้นเหมือนเด็กทาอุง บางคนแข็งแรงและกำยำกว่า ทั้งหมดเดินหลังตรงได้ บางชนิดดำรงเผ่าพันธุ์นานกว่า 1 ล้านปี บางชนิดดำรงเผ่าพันธุ์อยู่ราว 2.3 แสนปี
ซากมนุษย์ดึกดำบรรพ์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลกคือ โครงกระดูกของออสตราโลพิเธซีน ที่มีอายุ 3.18 ล้านปี พบที่ฮาร์ดา ประเทศเอธิโอเปีย ในปี 1974 โดยคณะที่นำโดย โดนัลด์ โยฮันสัน ชื่อเป็นทางการของโครงกระดูกคือ A.L.288-1 แต่กลับเป็นที่รู้จักในชื่อลูซี โยฮันสันกล่าวว่า ลูซี คือบรรพบุรุษยุคแรกสุดของเรา เป็นห่วงเชื่อมโยงระหว่างลิงไม่มีหางกับมนุษย์ ลูซีตัวเล็กมาก สูงแค่ 3.5 ฟุต (105 cm) จึงอนุมานว่าเป็นเพศหญิง พูดได้ ปีนป่ายได้เก่ง
สองปีหลังจากค้นพบลูซี แมรี ลีแคร์ พบรอยเท้ามนุษย์ 2 คน ที่ลาเอโทลิ ประเทศแทนซาเนีย และเชื่อกันว่าเป็นวงศ์เดียวกับโฮมินิด รอยเท้าเกิดขึ้นเมื่อออสตราโลพิเธซีน 2 คน เดินผ่านเถ้าโคลนที่เกิดจากการระเบิดของภูเขาไฟ นักบรรพชีวินวิทยาอนุมานว่าพวกเขามีขนาดรูปร่างเหมือนชิมแพนซีและมีขนดก แต่มีท่าทางและท่าเดินที่เหมือนมนุษย์ เอียน แทตเทอร์ซอล คิดว่าสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ไม่ใช่มนุษย์ แต่เป็นลิงมีหางที่เดินสองเท้า
ในทศวรรษ 1980 มีการค้นพบโครงกระดูกครั้งสำคัญ ที่หุบเขาซึ่งเป็นที่ตั้งของทะเลสาบเทอร์นาคา ประเทศเคนยา โดยคาโมยา คิเมอู ทีมงานของริชาร์ด ลีคีย์ คิเมอูพบโครงกระดูก โฮโม อิเร็กตัส ที่มีสภาพเกือบสมบูรณ์ เป็นโครงกระดูกของเด็กชายอายุประมาณ 9-12 ปี เสียชีวิตเมื่อ 1.54 ล้านปีก่อน แทตเทอร์ซอล บอกว่า โครงกระดูกมีโครงสร้างร่างกายแบบเดียวกับมนุษย์ปัจจุบันทั้งหมด
ปี 2001 และ 2002 มีการค้นพบกระดูกสภาพเยี่ยม 4 โครง ดังนี้
1. เคนยันโธรพลัส พลาทิออปส์ (แปลว่า เคนยาหน้าแบน) พบโดย มีฟ ลีคีย์ ที่ทะเลสาบเทอร์นาคา ประเทศเคนยา
2. อาร์ดิพิเธคัส รามินัส คาดับบา มีอายุระหว่าง 5.2-5.8 ล้านปี
3. ออร์โรริน ทูเกเนนซิส คาดว่ามีอายุราว 6 ล้านปี
4. ซาเฮแลนโธรพลัส ชาเดนซิส อายุเกือบ 7 ล้านปี พบที่ทะเลทรายจูรับ ประเทศชาด
ณ ช่วงเวลาหนึ่ง ระหว่าง 2-3 ล้านปีก่อน อาจจะมีโฮมินิดมากถึง 6 ชนิด อยู่ร่วมสมัยกันในแอฟริกา แต่มีเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่ดำรงอยู่ยาวนาน คือ โฮโม ที่เกิดขึ้นเมื่อราว 2 ล้านปีก่อน ตามตำราสายของโฮโม เริ่มต้นจาก โฮโม ฮาบิลิส แล้วมาสรุปจบที่ตัวเรา คือ โฮโม เซเปียนส์

1 ความคิดเห็น:

กุหลาบ กล่าวว่า...

นักโบราณมานุษยวิทยาได้ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับต้นกำเนิดของมนุษย์อย่างมาก เมื่อมีการค้นพบฟอสซิลโฮมินิดที่มีอายุมากที่สุดก็ คือ ออสตราโลพิเทคัส อะฟาเรนซิส (Australopithecus afarensis) ซึ่งอาศัยอยู่ในทุ่งหญ้าสะวันนาในแอฟริกาตะวันออกราวสามล้านหกแสนปีที่แล้ว และที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดก็คือโครงกระดูกเพศเมียที่ได้รับการถนอมรักษาอย่างดี ซึ่งค้นพบในประเทศเอธิโอเปียเมื่อ พ.ศ. 2517 มีชื่อว่า ลูซี เมื่อไม่กี่ปีมานี้นักโบราณมานุษยวิทยาพบว่ามีสายพันธุ์มากถึงห้าสายพันธุ์ที่มีอายุมากกว่า ออสตราโลพิเทคัส อะฟาเรนซิส เมื่อปี 2545นี้เอง ไมเคิล บรูเน็ต แห่งมหาวิทยาลัยปัวตีเย ประเทศฝรั่งเศส และกลุ่มนักสำรวจของเขาออกมาประกาศว่า พวกเขาค้นพบโฮมินิดที่มีอายุระหว่างหกล้านถึงเจ็ดล้านปีกลางเนินทรายในทะเลทรายซาฮารา ซึ่งก็ คือ ซาเฮลแอนโทรปุส ชาเดนซิส (Sahelanthropus tchadensis) ลองศึกษาดูนะคะ