22/12/50

constructivism เป็นอย่างไร

constructivism เป็นทฤษฎีการเรียนรู้อธิบายถึงจิตสร้างความรู้ขึ้นอย่างไร หรือความรู้ของนักเรียนจัดโครงสร้างอย่างไร และ " การเข้าใจมโนทัศน์อย่างลึกซึ้ง"ออกมาอย่างไร (Fosnot,1966,p. 30;Joyce&Weil, 1966) กิจกรรมการสร้างความรู้ (constructivist activities) ไม่ได้เพียงจัดสารสนเทศให้แก่นักเรียน และก็คาดหวังใหันักเรียนยอมรับข้อมูลนั้นว่าเป็นความจริง (as truth) กิจกรรมของผู้สร้างความรู้ถามนักเรียนให้นำหรือขุดเอารูปในใจของเขาที่เกี่ยวข้องอยู่ในประเด็นออกมาบูรณาการกับสารสนเทศจากภายนอกภายในกรอบความคิดส่วนบุคคล (Glynn & Duit, 1995;Novak, 1995) เพื่อจะช่วยเหลือผู้เรียนบูรณาการความคิดใหม่กับรูปแบบที่พวกเขาคุ้นเคยของตัวเอง นักสร้างความรู้ได้เสนอแนะกิจกรรมพื้นฐานในบริบทในชีวิตประจำวัน ดังเช่นในกรณีที่มีความเป็นจริง กำหนดหัวข้อที่จะเรียนรู้แบบพหุทัศนะ (multiple perspective) และสนับสนุนส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รวมมือกันในกลุ่มที่มีทัศนะที่หลากหลายปรับแสดงไกล่เกลี่ยกันออกมา (Jonassen, 1994; Wiliis, 2000)

Joyce และ Weil (1996) ได้เปรียบเทียบการปฏิบัติทางการศึกษาของนักสร้างความรู้กับการปฏิบัติโดยทั่วไปโดยอุปมาอุปมัยกับการขว้างและรับจาน (Frisbee) โดยได้ชี้ให้เห็นว่าผู้รับจานที่ขว้างมาในรูปแบบเดียวกับที่คนขว้างปล่อยมือออกไป ทำนองเดียวกันการศึกษาโดยทั่วไปพยายามที่จะขว้างสื่อสารสนเทศต่างๆ ให้นักเรียนโดยข้อตกลงเบื้องต้นที่ว่า ผู้เรียนจะรับและเก็บสื่อสารสนเทศไว้ ตามกรอบที่เหมือนตรงกับผู้สอนหรือผู้เขียนตำรา เมื่อพิจารณางานวิจัยเกี่ยวกับรูปในใจหรือการคิดได้เสนอแนะให้สารสนเทศอาจส่งผ่านให้ผู้เรียนในรูปแบบที่เหมือนกัน แต่ยังขึ้นอยู่กับองค์ประกอบอื่นๆ เช่นอายุ ความรู้ท่ี่เกี่ยวข้อง และประสบการณ์ สารสนเทศจะถูกตีความและเข้าใจต่างกันในแน่ละบุุคคล

ไม่มีความคิดเห็น: